 |
แผนแสดงขั้นตอนและระยะเวลา |
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
ข่าวประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้ง |
 |
|
|
|
 |
 |
 |
|
Untitled Document
|
˹ѡ ->
ความเป็นมาของ อบจ.สร |
ความนำ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมายาวนานหลายสิบปี นับตั้งแต่การจัดตั้งสภาจังหวัดพร้อมกันกับการจัดตั้งเทศบาล เพื่อทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาแก่รัฐบาลและตรวจสอบการทำงานของเทศบาล ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นสภาที่ปรึกษาของกรมการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด จนกระทั่งได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด มีอำนาจหน้าที่และรายได้ของตนเองโดยเฉพาะ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีลักษณะพิเศษที่นอกเหนือจากจะมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัดแล้ว พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยังทับซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปอื่น ๆ ได้แก่ เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนเรื่องรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมีแหล่งรายได้ที่แตกต่างไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปอื่น ๆ ดังนั้น การบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา
ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
การจัดรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการมาตามลำดับ โดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปีพ.ศ.2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ฐานะของสภาจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นองค์กร ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่กรรมการจังหวัด โดยยังไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนภูมิภาค ต่อมาในปี พ.ศ.2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 ขึ้น โดยมีความประสงค์ที่จะแยกกฎหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะแต่สภาจังหวัดยังทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรรมการจังหวัดเช่นเดิม จนกระทั่งได้มีการประกาศให้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบการบริหารราชการในจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ทำให้อำนาจของกรรมการจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้น โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้สภาจังหวัดมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย ต่อมาได้เกิดแนวความคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาที่ปรึกษาของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการปกครองตนเองยิ่งขึ้นอันมีผลให้เกิด “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” ขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ซึ่งกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกจากจังหวัดซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคและประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งจนกระทั่งปัจจุบัน
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ความพยายามแก้ไขกฎหมาย อบจ. ได้ดำเนินมาก่อนบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นผลกระทบมาจากการเกิดขึ้นของกฎหมาย อบต. เมื่อปี พ.ศ. 2437 ที่ส่งผลให้เกิดท้องถิ่นรูปแบบใหม่นี้แทบทุกพื้นที่ อุบัติการณ์ดังกล่าวทำให้รายได้ของ อบจ. ลดลงอย่างมากมายเพราะความที่มีพื้นที่ทับซ้อนกันกับ อบต. และสภาตำบลมา แต่เดิม ครั้น อบต. ยกฐานะเป็นท้องถิ่นอีกรูปแบบหนึ่ง เขตพื้นที่ อบจ.จึงเหลือแค่สภาตำบล ซึ่งมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ตามการเพิ่มขึ้นของ อบต. จนกระทั่งขณะนี้เหลือสภาตำบลเพียง 214 แห่งเท่านั้น ภาษีส่วนใหญ่จึงตกเป็นรายได้ของ อบต. จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างอำนาจหน้าที่และรายได้ของ อบจ. ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมาชิกสภาจังหวัดทั่วประเทศได้รวมทั้งจัดตั้งสมาพันธ์สมาชิกสภาจังหวัดแห่งประเทศไทย (สจท.) เมื่อปี พ.ศ.2538 โดยมุ่งผลักดันให้มีการเลือกตั้ง นายก อบจ. และในวันที่ 31 ตุลาคม 2540 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติ อบจ. โดยมีสาระสำคัญ คือ
1. อบจ. เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
2. เขต อบจ. ได้แก่เขตจังหวัด ซึ่งจุดนี้แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ยกเว้นเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น จึงทำให้พื้นที่ อบจ. ทับซ้อนกับพื้นที่เทศบาลเมืองพัทยา สุขาภิบาล และอบต. ก่อให้เกิดปัญหาความสับสน ขัดแย้งระหว่างท้องถิ่นแต่ละแห่งติดตามมา
3. โครงสร้างการบริหารประกอบไปด้วยสภา อบจ. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของราษฎรจำนวนแปรผันตามจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด ระหว่าง 24 - 48 คน มีวาระ 4 ปี และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกิจการ อบจ. โดยสภา อบจ. เลือกจากบรรดาสมาชิกสภา อบจ.ด้วยกันเอง นับได้ว่า อบจ. มีผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
4. อำนาจหน้าที่ของ อบจ. เน้นหนักที่การจัดทำแผนพัฒนา อบจ. ประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด สนับสนุนการพัฒนาสภาตำบลและท้องถิ่นอื่น ภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ร่วมกันทำหลายท้องถิ่น สำหรับหน้าที่ตามกฎหมายเดิมจะจำกัดเฉพาะสภาตำบลเท่านั้น จากข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่พบว่าท้องถิ่นต่าง ๆ มักไม่ให้การยอมรับบทบาทของ อบจ. เท่าที่ควร ส่วนใหญ่เป็นเหตุเพราะผลทางการเมือง ประกอบกับความที่เป็นท้องถิ่นที่เพิ่งปรับปรุงโฉมใหม่รวมทั้งฐานะการคลังไม่ดี ไม่สามารถสนับสนุนท้องถิ่นอื่นๆ ได้
5. รายได้ของ อบจ. กฎหมายใหม่ได้บัญญัติแหล่งที่มาของรายได้เพิ่มขึ้นทำนองเดียวกับ อบต. แต่ในทางปฏิบัติสถานะทางการคลังของ อบจ. ยังไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้หลายแห่งต้องขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมเป็นเงินเดือน ค่าจ้างของเจ้าหน้าที่
6. บุคลากรประจำของ อบจ. เรียกว่าข้าราชการ อบจ. เปลี่ยนจากเดิมที่เรียกว่าข้าราชการส่วนจังหวัด ตามกฎหมายนี้ยังเปิดโอกาสให้ยืมตัวบุคลากรส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและท้องถิ่นอื่นมาช่วยงานของ อบจ. เป็นการชั่วคราวได้อยู่แต่ในทางปฏิบัติไม่มีการดำเนินการประการใด ขณะนี้ปลัด อบจ. ได้รับการแต่งตั้งข้าราชการ อบจ. องค์ครบทุกแห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเต็มพื้นที่ของจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปเทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล โครงสร้างขององค์การริหารส่วนจังหวัด แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ดังนี้
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวน 24-48 คน ตามจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น ดังนี้
- จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 24 คน
- จังหวัดใดมีราษฎร 500,001-1,000,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 30 คน
- จังหวัดใดมีราษฎร 1,000,001-1,500,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 36 คน
- จังหวัดใดมีราษฎร 1,500,001-2,000,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 42 คน
- จังหวัดใดมีราษฎร มากกว่า 2,000,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 48 คน
โดยกำหนดให้อำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง แต่ละอำเภอจะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างน้อย 1 คน และอำเภอใดมีราษฎรที่คำนวณแล้วจะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวนเท่าใดก็ให้เป็นตามเกณฑ์จำนวนราษฎรที่อำเภอนั้นมีอยู่ มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ตามจำนวนสัดส่วนของราษฎรโดยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน และมีรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 คน ซึ่งได้รับเลือกมาจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งตามอายุของสภา (4 ปี)
2. ฝ่ายบริหาร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภา จำนวน 2-4 คน เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 24 หรือ 30 คน มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 2 คน
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 36 หรือ 42 คน มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 3 คน
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 48 คน มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 4 คน
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่งตามอายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและมีกรณีการพ้นจากตำแหน่ง ดังนี้
(1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) มีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(3) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเนื่องจากราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง
(4) พ้นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(5) สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่รับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(6) ลาออกโดยการยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(7) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีพฤติการณ์ละเลยไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งข้าราชการที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกว่า “ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด” มีปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด รองลงมาจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
อ้างอิง http://oknation.nationtv.tv/blog/dhiwakorn/2011/09/13/entry-1 |
: к |
|
 |
การจัดการความรู้ กฎหมายและคู่มือ |
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
แต่งงานบนหลังช้าง/wedding |
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร |
 |
|
|
|
 |
 |
 |
|